วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โครงงานเมี่ยงคำ รายวิชาวิทยศาสตร์

โครงงานเมี่ยงคำ รายวิชาวิทยศาสตร์

ทำการทดสอบ เรื่อง ความเป็น กรด-เบส ในน้ำเต้าเจี้ยว

สมมติฐาน : ในน้ำเต้าเจี้ยวจะมีรสเค็มและเปรี้ยว และมีความเป็นกรด มีค่า ph ประมาณ 5

       
         การทำเต้าเจี้ยวโดยการ นำถั่วเหลืองที่นึ่งสุกแล้วมาหมักกับเชื้อราแอสเพอร์จิลลัส โอไรเซ หรือ 
แอสเพอร์จิลลัส โซเย แล้วนำถั่วเหลืองที่มีเชื้อราเจริญได้ที่แล้วมาหมักกับน้ำเกลือในระยะเวลาที่เหมาะสม จะได้น้ำเต้าเจี้ยวออกมาที่มีรสชาติเค็มและเปรี้ยวหน่อยๆ (ถ้าใครไม่ชอบเปรี้ยวก็เติมน้ำตาลได้)
         การทดสอบพบว่าในน้ำเต้าเจี้ยวมีความเป็นกรด เพราะจากการวัดของกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินที่เปลี่ยนเป็นสีแดง และมีค่า ph เท่ากับ5 เพราะใช้กระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์วัดค่า

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง


 การปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง พระองค์มีพระราชดำรัส ดังนี้
การ ปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาได้ให้ใช้วิธีปลูกไม้ 3 อย่าง แต่มีประโยชน์ 4 อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้ ไม้เศรษฐกิจ โดยปลูกรองรับการชลประทาน ปลูกรับซับน้ำ และปลูกอุดช่วงไหล่ตามร่องห้วยโดยรับน้ำฝนอย่างเดียว
ประโยชน์อย่างที่ 4 คือสามารถช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ
แปลความสรุปอย่างเข้าใจง่าย ปลูกไม้ให้พออยู่ พอกิน พอใช้ และระบบนิเวศน์
พออยู่ หมายถึง ไม้เศรษฐกิจปลูกไว้ทำที่อยู่อาศัย และจำหน่าย
พอกิน หมายถึง ปลูกพืชเกษตรเพื่อการกินและสมุนไพร
พอใช้ หมายถึง ปลูกไม้ไว้ใช้สอยโดยตรงและพลังงาน เช่น ไม้ฟืน, และไม้ไผ่ เป็นต้น
ประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ สร้างความสมบูรณ์และก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่า
 หลักการและเหตุผล
วัตถุประสงค์

1. ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ตามแนวคิด ป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง
2. จัดรูปแบบการปลูกให้เกิดคุณค่าและบูรณาการในพื้นที่ทำกินเดิมให้มีสภาพใกล้เคียงกับป่า 

3.องค์ประกอบตามวุตถุประสงค์ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

 

จัดโครงสร้างและลำดับชั้นต้นไม้ในป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง 
      เป็นการจัดโครงสร้าง พันธุ์ไม้ให้มีสภาพใกล้เคียงกับป่า เพื่อเป็นประโยชน์ต่อความสมดุลของระบบนิเวศ โดยให้มีชั้นเรือนยอด 3 ชั้น ได้แก่ เรือนยอดชั้นบน เรือนยอดชั้นกลาง เรือนยอดชั้นล่าง และหากจัดโครงสร้างด้านการใช้ประโยชน์จะเป็น 4 ระดับ คือ ชั้นบน ชั้นกลาง ชั้นล่างและชั้นใต้ดิน ตามรูปแบบเกษตร 4 ชั้น, สวนโบราณ, สวนสมรม
     3.1 ไม้เรือนยอดชั้นบนได้แก่ ไม้ที่ปลูกใช้เนื้อไม้ทำที่อยู่อาศัย เช่น ตะเคียนทอง, สัก ยางนา, สะเดา, จำปาทอง ฯลฯ และไม้ที่ลำต้นสูงและที่ลูกเป็นอาหารได้ เช่น สะตอ, เหรียง, กระท้อน, มะพร้าว หมาก ฯลฯ
     3.2 ไม้ เรือนยอดชั้นกลางส่วนใหญ่เป็นไม้เพื่อการกิน, การขาย, การใช้เป็นอาหารและสมุนไพร เช่น มะม่วง, ขนุน, ชมพู่, มังคุด, ไผ่, ทุเรียน, ลองกอง, ปาล์ม ฯลฯ
     3.3 ไม้ที่ปกคลุมผิวดิน ทั้งที่เป็นอาหาร, สมุนไพรและของใช้ เช่น กาแฟ ผักป่าชนิดต่าง ๆ ชะพูล, มะนาว, หวาย, สบู่ดำ ฯลฯ
     3.4 พันธุ์พืชที่ใช้ประโยชน์จากส่วนที่อยู่ใต้ดิน (พืชหัว)เป็นพืชที่ปลูกเพื่อความพอเพียงในด้านการกิน ได้แก่ กลอย, ขิง ข่า, กระชาย, กระทือ ฯลฯ
ซึ่ง กระบวนการปลูกในรูปแบบดังกล่าวจะได้พันธุ์ไม้ที่เกิดป่า 3 อย่าง คือ ป่าเพื่อพออยู่ ป่าเพื่อพอกินและป่าเพื่อพอใช้ และจะได้ประโยชน์เพิ่มในด้านการรักษาสมดุลด้านสิ่งแวดล้อม
-เรือนยอดชั้นบน 
-เรือนยอดชั้นกลาง
-เรือนยอดชั้นล่าง
-ใต้ดิน
ร้างมูลค่าต้นไม้ที่ปลูกทำให้เป็นทรัพย์ เพื่อออมทรัพย์และใช้แก้ปัญหาความยากจน
ภาพการจัดโครงสร้างและลำดับชั้นเรือนยอดในป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่างที่มีลักษณะใกล้เคียงสภาพป่า
4. กระบวนการสร้างมูลค่าต้นไม้ในโครงการปลูกป่า 3 อย่า ประโยชน์ 4 อย่าง 
     เป็นการให้คุณค่าไม้ ให้เป็นมูลค่าเพื่อเกิดการพออยู่ตามนัยที่ ให้พอรักษาที่ดินทำกินให้อยู่กับเจ้าของผู้ทำกิน ให้เป็นมูลค่าเพื่อการศึกษาเรียนรู้ ในการลดค่าใช้จ่ายจากพืชที่ปลูกไว้บริโภคเอง
5.พื้นที่ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง
     5.1 ในพื้นที่ทำกินของประชาชนในชุมชนที่อยู่ในหรือรอบแนวเขตป่า
     5.2 ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามความเหมาะสม
     5.3 ในพื้นที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของชุมชน

 http://www.greencoun.com/3forest_4benefits.php